ติดตามความเคลื่อนไหวของโลกการค้า และบริการ ที่นี่

ความเคลื่อนไหวของสินค้า บริการ ในด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก จะปรากฏและพร้อมเสริฟให้ท่านได้อ่านทุกเวลา ที่นี่

ประเภทของเครื่องสำอางนูสกิน

on 09/15/2018

1.เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เนื่องจากพิษภัยหรือจากเคมีภัณฑ์ ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ ให้สังเกต เลขทะเบียนในกรอบ อย. วอย่างเครื่องสำอางนูสกินควบคุมพิเศษ ได้แก่

  •  ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหมขัดฟันที่มีส่วนผสมของ ฟลูออไรด์
  •  น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์
  •  ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม
  •  ผลิตภัณฑ์ย้อมผมชนิดถาวร
  •  ผลิตภัณฑ์ฟอกสีผม
  •  ผลิตภัณฑ์แต่งสีผมที่มีส่วนผสมของ เลดแอซีเทต หรือซิลเวอร์ไนเตรต
  •  ผลิตภัณฑ์กำจัดขน หรือทำให้ขนร่วง

2. เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจเพียงมาแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ดังนั้นเครื่องสำอางควบคุม จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

กำหนดเครื่องสำอางควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ

  • 2.1 กำหนดประเภทของเครื่องสำอาง 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด

ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด

แป้งฝุ่นโรยตัว

แป้งน้ำ

  • 2.2 กำหนดสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุม จะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

สารป้องกันแสงแดด จำนวน 19 ชนิด (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2536 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดด)

สารขจัดรังแค (ซิงก์ไพริไทโอน และ ไพรอกโทน โอลามีน)

สารขจัดรังแค (คลิมบาโซล)

 

3.เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางทั่วไปจะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย. แต่มีข้อกำหนดในการผลิตหรือนำเข้า ดังนี้

  • 3.1 เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องมาแจ้งกับอย. เพียงแต่จัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน (ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)
  • 3.2 เครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการ นำเข้า และจัดทำฉลากภาษาไทยให้มีข้อความอันจำเป็นให้ ครบถ้วนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้าฯ (ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)  ตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ แชมพูสระผมที่ไม่มีสารขจัดรังแค ครีมนวดผม โลชั่น ครีมบำรุงผิว อายแชโดว์ อายไลเนอร์ ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม ลิปสติก ครีมรองพื้น แป้งทาหน้า สบู่ก้อน สบู่เหลว โฟม น้ำมันทาผิว เครื่องสำอางนูสกินระงับกลิ่นกาย สีทาเล็บ มูส หรือเยลแต่งผม เป็นต้น

Credit : http://www.skinbiotechthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539369807&Ntype=6


Comments are closed.